Hemp SoftGel

ความแตกต่างสำคัญของ THC และ CBD

ในอดีต เมื่อมนุษย์รู้จักการสูบกัญชา พวกเขาก็เข้าใจว่ากัญชาทำให้ผ่อนคลายและ “เก็ทไฮ” ได้ตั้งแต่ยังไม่รู้จักสารของมัน พอภายหลังรู้ว่ามีส่วนประกอบของ THC ก็เริ่มเข้าใจว่าสารนี้แหละทำให้ผ่อนคลาย และยังมีผลต่อระบบประสาท แต่พอศึกษาไปอีก ก็พบว่ามีสาร CBD อีกตัว ที่ช่วยให้ผ่อนคลายเหมือนกัน แต่สารนี้ไม่ส่งผลให้ “เก็ทไฮ” แต่อย่างใด

ซึ่งพอยิ่งศึกษาต่อไปเรื่อยๆ ทั้งการเพิ่มโดสของ CBD ให้มากขึ้นไปอีก ก็พบว่าเจ้าสารตัวนี้มันแทบไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายของมนุษย์

แต่ที่มีผลข้างเคียงมันคือ THC ทั้งอาการปากแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ตอบสนองช้า ตาแดง หรือความทรงจำลดลง ล้วนเป็นผลของการได้รับ THC ที่มากเกินไปแทบทั้งสิ้น

การพัฒนากัญชาเพื่อใช้ในทางการแพทย์

อาการเจ็บป่วยหลายๆ แบบนั้นสามารถบรรเทาได้ด้วยทั้ง THC และ CBD

เมื่อมีข้อมูลว่าสาร CBD ในกัญชานั้นมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย โดยเฉพาะไม่ทำให้มึนเมา และไม่ส่งผลต่อระบบประสาท จึงนำไปสู่การพัฒนาสกัดสารดังกล่าวออกมาเพื่อใช้ในทางการแพทย์โดยเฉพาะ

แม้จะมี พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฉบับใหม่ ที่อนุญาตให้ปลูกและใช้กัญชาในการรักษาคนป่วยได้ แต่การใช้กัญชาก็เป็นไปอย่าง 'กระจุกตัว' และมีข้อจำกัดแก่บรรดาแพทย์ทางเลือกว่า พวกเขาต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานของรัฐเท่านั้น ทำให้การแปรรูปสารสกัดกัญชาเพื่อนำมารักษาโรคเป็นไปอย่างจำกัด และไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่สามารถใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคได้

ด้วยเหตุนี้ ทำให้ภาคประชาสังคม มีข้อเสนอในระยะสั้น กลาง และยาว เช่น การลดภาระของแพทย์ทางเลือก การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงกัญชาทั้งผู้ป่วยและแพทย์ รวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดและนิยามใหม่ให้เป็น 'พืชยา' ที่มีหน่วยงานรับผิดชอบชัดเจน

 

               ปัจจุบัน พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดให้การขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือครอบครองกัญชาต้องดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยเท่านั้น และการผลิต นำเข้า ส่งออกต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษก่อนจึงจะสามารถดำเนินการได้

               โดยใน 5 ปีแรก ผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออกต้องเป็นหน่วยงานรัฐหรือผู้ขออนุญาตอื่น เช่น วิสาหกิจชุมชน ฯลฯ ที่ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานรัฐ ซึ่งขณะนี้มีผู้ได้รับอนุญาตการปลูก จำนวน 17 ราย เช่น องค์การเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา จ.ลำปาง โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรร่วมกับวิสาหกิจชุมชนรักจังฟาร์มเมล่อน จ.นครราชสีมา

ทั้งนี้ ผู้ปลูกกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 บาท และหากเป็นการปลูกเพื่อจำหน่ายมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 - 15 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 ถึง 1,500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขออกมา เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ในเนื้อความมีท่อนหนึ่งระบุเอาไว้ว่า ให้ยกเลิกชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท  5  ลำดับที่  1 ซึ่งลำดับที่ 1 ของยาเสพติดประเภทที่ 5 ก็คือกัญชา

ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ที่สนับสนุนนโยบายกัญชาเสรี แต่ภายหลัง นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการ ป.ป.ส ก็ออกมาให้สัมภาษณ์เตือนประชาชนว่าอย่าเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ประกาศของกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าว โดยกล่าวถึงสาระสำคัญของประกาศฉบับนั้นก็คือ

“กัญชาและกัญชง ยังคงถูกกำหนดให้เป็นยาเสพติดประเภท 5 แต่มีการกำหนดยกเว้นให้เฉพาะเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งของกัญชาและกัญชง รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง ไม่เป็นความผิด ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้เดิม”

นอกจากนี้ ได้มีการกำหนดข้อยกเว้นเพิ่มเติม “ให้สาร CBD บริสุทธิ์ร้อยละ 99 ที่มี THC ผสมไม่เกินร้อยละ 0.01 สารสกัด CBD หรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัด CBD ที่มีสาร THC ผสมไม่เกินร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นยาหรือเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือสมุนไพร เมล็ดกัญชงหรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชงที่ใช้ในอาหาร ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร และน้ำมันจากเมล็ดกัญชง (hemp seed oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชงที่ใช้ในเครื่องสำอางตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง ไม่ถือว่าสิ่งดังกล่าวเป็นยาเสพติดให้โทษต่อไป ทั้งนี้ เมล็ดกัญชงที่นำมาใช้เป็นอาหารหรือเครื่องสำอาง ต้องเป็นเมล็ดที่ไม่สามารถนำไปเพาะพันธุ์ได้แล้ว”

ดังนั้น กัญชาและกัญชง ยังเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 การผลิต เพาะปลูก นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครอง หรือเสพ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามกฎหมาย จึงขอเตือนพี่น้องประชาชน อย่าเข้าใจผิด

ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขนั้น ก็จะต้องไปออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานเกี่ยวกับการนำเมล็ดกัญชง น้ำมันหรือสารสกัดจากกัญชงหรือกัญชา ไปใช้เป็นส่วนผสมในยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร และเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศไทยให้ประชาชนรับทราบต่อไป" เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าว

               สรุปก็คือการผลิต เพาะปลูก นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครอง หรือเสพ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่มีสารบางอย่างในกัญชาซึ่งก็คือ สาร CBD บริสุทธิ์ร้อยละ 99 ที่มี THC ผสมไม่เกินร้อยละ 0.01 สารสกัด CBD หรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัด CBD ที่มีสาร THC ผสมไม่เกินร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นยาหรือเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือสมุนไพร

               แต่ในปัจจุบัน สารสกัดกัญชา ยังไม่แหล่งจำหน่าย เพื่อมาผลิตเครื่องสำอางได้ตาม พรบ. เพราะยังไม่มีที่ได้รับอนุญาตปลูก สกัด เพื่อเป็นวัตถุดิบที่จะนำมามาผลิต เนื่องจากยังติดข้อกำหนดให้ปลูกให้หน่วยงานรัฐหรือผู้ขออนุญาตอื่น17 รายเท่านั้น และยังไม่มีสถานที่ที่ได้รับการอนุญาตให้สกัดเป็นวัตถุดิบ เพื่อการค้าเสรี ดังนั้น สถานที่ผลิตเครื่องสำอางต่างๆ จึงไม่มีแหล่งวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง

แต่สามารถนำมาประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายได้อย่างเสรี แต่ต้องแสดงหลักฐานแหล่งที่มาของวัตถุดิบอย่างถูกต้อง

ประโยชน์ของกัญชง
Visitors: 3,502,341